วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

สโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รับสมัครนักศึกษาออกค่าย

.....รับสมัคร นักศึกษาคณะครุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ร่วมออกค่ายครุศาสตร์ราชภัฏอีสานเหนืออาสาพัฒนาท้องถิ่นครั้งที่ 10 ระหว่างวันที่ 15 - 20 ตุลาคม 2555 ณ จ.ร้อยเอ็ด ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมหาวิทยาลัยอื่นๆทั่วภาคอีสานตอนบน ลงทะเบียนได้ที่สโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (ค่าลงทะเบียนคนละ 500 บาท)




***สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมไดที่สโมสรนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

วันจันทร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2555

รับเงินครุศาสตร์วิชาการ

     
   

       ประกาศ  ให้แต่ละสาขาส่งตัวแทนมารับเงินสนับสนุนกิจกรรมครุศาสตร์วิชาการได้แล้ว ที่สโมสรนักศึกษา คณะครุศาสตร์  และฝากแจ้งไปยังพี่แต่สาขาให้แจ้งน้องปีหนึ่งด้วยว่าต้องเข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ตั้งแต่ทำบุญตักบาตร 06.00 น. เป็นต้นไป
***สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สโมสร หรือ

มือถือ 028-1101865 นายพัทธณะไชย ห่วงแก้ว (นายกสโมสรฯ)

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

น้องใหม่ร่วมใจพัฒนา


         ประชาสัมพันธ์ไปยังนักศึกษาชั้นปีที่ 1 เนื่องจากวันที่ 25 สิงหาคม 2555 ได้เป็นวันน้องใหม่ร่วมใจพัฒนา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ดังนั้นจึงให้นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่งเข้าร่วมกิจกรรมทำความสะอาดมหาวิทยาลัย โดยพร้อมเพียงกัน โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์รวมกันที่ลานหน้าคณะฯ เวลา 07.00 น.

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ขอเชิญร่วมกิจกรรมครุศาสตร์วิชาการ

           ขอเชิญร่วมงานครุศาสตร์วิชาการและทำบุญคณะ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2555 เวลา 06.00 น. ณ ลานหน้าคณะครุศาสตร์ และร่วมสัมนา เวลา 09.00 น.
ณ หอประชุม 1


วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน


๖.ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ



"สร้างน้ำเพิ่มป่าพัฒนาชีวิตแบบพอเพียง"

ที่ตั้งโครงการ  ตั้งอยู่บ้านนานกเค้า ตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อยู่ห่างจากอำเภอเมืองสกลนครไปทางทิศตะวันตกประมาณ ๑๐ กิโลเมตร มีพื้นที่ดำเนินการทั้งหมดประมาณ ๑๓,๓๐๐ ไร่ โทร (๐๔๒) ๗๑๒๙๗
งานหลัก
เป็นศูนย์ที่มีเป้าหมายในด้านพัฒนาอาชีพต่าง ๆ ทั้งทางเกษตรอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการพัฒนาหมู่บ้านตัวอย่าง



ประวัติความเป็นมา












 ในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนี้  ทำให้พระองค์ทรงประสบปัญหาความทุกข์ยากของราษฎรภาคอิสานว่าแร้นแค้นยิ่งนัก  อีกทั้งการคมนาคมหลายแห่งทุรกันดารยิ่ง  และถือได้ว่าการเสด็จพระราชดำเนินในครั้งนั้น   ทำให้ทรงได้รับรู้ข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้นที่สำคัญด้านการพัฒนา  และเป็นรากฐานสู่การพัฒนาศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน  อันเนื่องมาจากพระราชดำริ 

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ชนิดของ Port


นวัตกรรมการเรียนรู้ 


นวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning innovation)
                       นวัตกรรมทางการเรียนรู้ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมโดยการนำเอาสิ่งใหม่ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของความคิดใหม่ๆและวิธีการปฏิบัติใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วประหยัดเวลา และช่วยส่งเสริมให้กระบวนการทางการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การใช้อินเตอร์เน็ต เป็นต้น

เหตุผล  เพราะคำว่านวัตกรรมทางการศึกษา คือ

• เป็นการประดิษฐ์คิดค้น หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
•เป็นพัฒนาการที่มีการทดลอง

• เป็นความคิดใหม่ๆ รูปแบบใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ เทคนิคใหม่ๆ แนวทางใหม่ๆ ผลผลิตใหม่ๆ ที่ได้รับการประยุกต์ สร้างสรรค์ และพัฒนา ทั้งจากการต่อยอดภูมิปัญญาเดิม หรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่ด้วยภูมิปัญญาใหม่ เกิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในระบบการศึกษา นอกระบบการศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัย ดังนั้นทั้งหมดเป็นเหตุผลที่ดิฉันได้ให้ความหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา

นวัตกรรม








 นวัตกรรม (Innovation)  
หมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ หรือ ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา มาจาก คำภาษาอังกฤษว่า Innovate มาจากคำว่า Innovare ซึ่งหมายถึง to renew, to modify อาจแปลความหมายได้ว่า ทำใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใหม่ๆเข้ามา

โปรแกรม Authorware


รู้จักกับโปรแกรม Authorware
     โปรแกรม Authorware จัดเป็นโปรแกรมประเภท Authoring System ที่ใช้ในการเรียบเรียงงานนำเสนอลักษณะ Multimidia มีทั่งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงเพลง เสียงอธิบาย Sound Effect และสามารถโต้ตอบกับผู้ใช้โปรแกรมได้หลายรูปแบบ ซึ่งจากคุณสมบัติดังกล่าว สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวาง
     โปรแกรม Authorware ใช้เทคนิคที่เรียกว่า Objtected Interfack ซึ่งเป็นการใช้สัญลักษณ์ (Icon) แทนคำสั่ง ทำให้ง่ายและสะดวกในการใช้งาน


การจัดนิทรรศการ









การจัดแผ่นป้าย...........แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546, หน้า 696) เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่าง ๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปแบบหลายลักษณะแตกต่างกัน มีทั้งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวตั้ง สี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน บ้างเป็นแผ่นป้ายที่สามารถถอดประกอบกับขาตั้งไว้ บางป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร แผ่นป้ายบางชนิดเคลื่อนย้ายได้แต่บางป้ายติดอยู่กับที่อย่างตายตัวไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ วัสดุที่ใช้ทำแผ่นป้ายมีหลายชนิด เช่น ไม้อัด ไม้ไผ่สาน ไม้เนื้อแข็ง แผ่นพลาสติก แผ่นโลหะ แผ่นเซลโลกรีต เป็นต้น